Tuesday, June 16, 2009

วิธีเลือกทนายความครับ

ฉบับที่ 2 ครับ
ครั้งนี้ผมจะแนะนำวิธีเลือกทนายความ
แน่นอนคนที่มีปัญหาต้องการเลือกที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและชำนาญในปัญหานั้น และสิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้เป็นการเลือกทนายความมาช่วยคุณแก้ปัญหา ไม่ใช่เพิ่มปัญหาครับ
ในประเทศไทยทนายความไม่ได้แบ่งแยกหรือจำแนกประเภทของทนายความออกเป็นส่วนๆ เหมือนกับประเทศอังกฤษ ซึ่งทนายความนั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ทนายความที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและเตรียมคดี (Solicitor)
2. ทนายความที่ว่าความในศาล (Litigator)
ในประเทศไทยมีทนายความประเภทเดียวครับ เป็นทั้งทนายความผู้ให้คำปรึกษาและว่าคดีความในศาล และให้คำปรึกษาและว่าความได้ทุกเรื่อง ไม่ต่างกับ พระเจ้านะครับ แก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง ความจริงแล้ว ทนายความไม่ได้เก่งไปทุกเรื่องหรอกครับ จะเก่งได้ก็ที่ตนเองได้ปฎิบัติหรือมีประสพการณ์ในเรื่องนั้นๆ นี้คือสิ่งที่ผมต้องการแก้ไขและต้องการให้ทนายความมีความรู้ความสามารถในกฎหมายนั้นๆ จริงๆ แต่ให้คำปรึกษาได้ทุกเรื่องครับ

ผู้ที่คุณสมบัติต่อไปนี้จึงจะเป็นทนายความได้ครับ

1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2. จบการศึกษาปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่ได้ผ่านการรับรองจากสภาทนายความ
3. เป็นผู้มีความซึ่อสัตย์ สุจริต
4. เป็นบุคคลที่ไม่เคยต้องคำพิพากษาจำคุกหรืไม่เป็นบุคคลล้มละลายครับ
5. ไม่เป็นโรคติดต่อ
6. เป็นเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากรัฐบาล
7. ผ่านการสอบจากสภาทนายความ

เมื่อได้ชื่อว่าทนายความ ไม่ใช่ว่าจะเก่งทุกคนครับ ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกทนายความ คุณควรจะต้องเข้าใจในเรื่องของคุณก่อนครับ ต้องรู้วิธีถามคำถามที่เกี่ยวกับตัวทนายความ และปัญหาที่คุณมีอยู่ครับ ถ้าคุณเลือกทนายความที่ขาดความสามารถแล้ว คุณนั้นแหละที่จะมีปัญหาเพิ่มขึ้นอีก ทนายความที่เหมาะกับคุณคือทนายความที่มีความรู้และมีความสามารถช่วยคุณแก้ปัญหา ทำงานรวดเร็ว และตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง คุณควรจะขอดูใบอนุญาตให้เป็นทนายความด้วยนะครับ ซึ่งผู้ที่เป็นทนายความแล้วจะต้องมีใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ที่ออกให้โดยสภาทนายความ ซึ่งในใบอนุญาตนั้นจะมีเลขที่และปีที่ออกใบอนุญาต ปีที่ออกใบอนุญาตนั้นก็หมายถึง ทนายความผู้นี้ได้ผ่านการสอบวิชาว่าความจากสภาทนายความ ดังนั้นถ้าทนายความคนใหน มีใบอนุญาตหลายปี ก็ให้เดาไว้ว่า เป็นทนายความที่มีประสพการณ์มาก แต่ไม่แน่เสมอไปนะครับ บางที่ได้ใบอนุญาตมานานแล้ว แต่ไม่เคยว่าความเลยก็มี หรือไม่ก็เป็นทนายความที่มีอายุมากแล้ว คิดว่าเป็นทนายความที่มีประสพการณ์ แต่ที่จริงแล้วทนายความคนนั้นอาจจะเพิ่งได้รับใบอนุญาตในปีนี้ก็ได้ ดังนั้นแล้วขอดูใบอนุญาตดีกว่าครับ
ประสพการณ์ เป็นสิ่งที่จำเป็นนะครับ ให้ถามเลยว่าเคยว่าความในปัญหาของคุณมาแล้วกี่เรื่อง ทางที่ดี คุณควรจะขอดูสำนวนคดีที่ทนายความท่านนี้ได้เคยมีประสพการณ์มาแล้ว

Sunday, June 14, 2009

มีปัญหาปรึกษาทนาย

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน
ปัญหามีไว้ให้แก้ แต่การที่จะแก้ปัญหาต้องแก้ให้ถูกวิธี
ถ้าเป็นเรื่องสุขภาพ ก็คงต้องปรึกษาหมอครับ
ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เงินๆทองๆ ก็ต้องปรึกษากับสถาบันการเงิน
แต่ถ้าเป็นปัญหากฎหมายก็ควรจะต้องปรึกษาทนายความ อย่างว่าปัจจุบันมีทนายความที่ขึ่นทะเบียนที่ สภาทนายความทั้งหมดประมาณ 50,000 คน แล้วท่านจะปรึกษาใครครับ เอาไว้บทความฉบับหน้าผมจะแนะนำวิธีการเลือกทนายความที่ปรึกษานะครับ
ภูวงษ์
www.thailandlawyers.com